MEA 303 ภาษาเเละวัฒนธรรมสำหรับครู

าษา คือ วิธีที่มนุษย์แสดงความในใจสื่อความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ ภาษาจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษาถ้อยคำ คือ ความหมายที่แสดงออกได้โดยวิธีตัวอักษรเป็นสัญญาลักษณ์ในการสื่อความหมายทางการพูดและการเขียนและภาษาท่าทางที่แสดงออกได้ โดยการแสดงอากัปกิริยา ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง เช่น การใช้นิ้วมือในภาษาใบ้และการรำละคร เป็นต้น ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของชาติ เพราะภาษาเป็นสื่อให้ติดต่อกันและทำให้วัฒนธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวคนทั้งชาติ วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นับแต่เกิดจนตาย การใช้ภาษาอย่างมีวัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการบันทึกเป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้ดังนี้ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ระดังกึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง มนุษย์ต้องใช้ภาษาจึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาทิเช่น ภาษาช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้ไม่ให้สูญหาย เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตคนไทย สำหรับวัฒนธรรมไทยแสดงถึงความรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ประเทศเอกลักษณ์ ศักดิ์ศรีและความสามัคคี นำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยเฉพาะทักษะการฟัง คือ การรับรู้เรื่องราวข่าวสารจากการได้ยิน แล้วทำความเข้าใจจนสามารถนำสารนั้นไปใช้ประโยชน์ เป็นกระบวนการสื่อสารที่มนุษย์ใช้มาก่อนทักษะอื่น เพราะการฟังมีจุดมุ่งหมายฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและตัดสินใจ ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจหรือฟังความคิดเห็น ฟังเพื่อได้คติสอนใจและฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต การฟังต้องมีมารยาทเพราะเป็นวัฒนธรรมประจำชาติต้องยึดถือความถูกต้องเหมาะสม อาทิเช่น มีความตั้งใจและพร้อมที่จะฟัง มีสมาธิ คิดตามเนื้อหาที่ฟังตลอด มีใจเป็นกลาง ให้เกียรติผู้พูด บันทึกการฟังอย่างถูกต้องและหากสงสัยให้ถามผู้พูด
       ทักษะการพูด เป็นพฤติกรรมการสื่อสารโดยการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึกและความต้องการ การพูดจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ต่อทุกอาชีพ เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า การพูดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การพูดโดยกะทันหัน การพูดโดยเตรียมมาก่อนและการอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ ทักษะการอ่านเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะทางการรับรู้ความหมายของคำ สัญลักษณ์ ความคิด ความรู้สึกตามเจตนารมณ์ของผู้เขียน การอ่านเป็นการรับสาร ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่สายตารับรู้ข่าวสารเป็นอักษรโดยผู้อ่านสามารถเข้าใจหน่วยงานต่างๆ ของภาษาผ่านตัวอักษรถูกต้อง เพราะการอ่าน คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิดแล้วนำความคิดไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ส่วนตัวอักษรใช้สัญลักษณ์แทนคำพูด ซึ่งคำพูดเป็นเสียงใช้สื่อสาร การอ่านหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์แต่ละประเภท ผู้อ่านย่อมมีวิธีการอ่านแตกต่างกัน ดังนั้นลักษณะการอ่านมี 4 ประเภท คือ การอ่านแบบคราวๆ การอ่านปกติ การอ่านละเอียด ทักษะการเขียนเป็นทักษะการใช้ภาษาไทยที่สำคัญเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราวประสบการณ์ต่อๆ ไปสู่ผู้อื่น โดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือ การเขียนภาษาไทยอย่างถูกต้องมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งทางการสื่อสาร การนำไปใช้เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมและพัฒนาทั้งด้านวิชาความรู้และอาชีพ การใช้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคน
       ภาษาที่ใช้สื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียน นั้นภาษามาตรฐานที่ใช้สื่อสารกลุ่มอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีภาษาทางการ ภาษาประจำชาติของประเทศในกลุ่มอาเซียนประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษามาเลย์ ภาษาฮาซาอินโดนีเซีย ภาษามาลายู บรูไน และภาษาฟิลิปปิโน
       พลวัตของภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับสังคม วัฒนธรรมนั้นจะพบว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงภาษาเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของมนุษย์ทางสังคม เนื่องจากมนุษย์ทุกชาติทุกสังคมมีศักยภาพติดต่อสื่อสารแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นภาษาจึงเป็นรากฐานที่สำคัญ คือ ทุกอย่างมาจากสังคมและวัฒนธรรมไทยรวมทั้งต่างประเทศด้วย ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมมนุษย์ตามลำดับ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของภาษา หมายถึง การที่ภาษาต่างยุคต่างสมัยกันจะมีรูปแบบภาษาที่แตกต่างกัน โดยมีการพัฒนามาจากการแปลภาษาจะเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงของภาษามี 4 ประเภท ได้แก่ เปลี่ยนแปลงทางเสียง ทางไวยากรณ์ คำศัพท์ เปลี่ยนแปลงความหมายและอายุด้วย
       สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นจะเกิดขึ้นกับพฤติกรรมของบุคคลในสังคม สืบเนื่องมาจากการมีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกันมากกว่า นอกจากนั้นยังเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการจากสภาพดั้งเดิมอยู่ด้วยกันอย่างง่ายๆ ไปสู่ขั้นสลับซับซ้อน กลายเป็นวัฏจักรของความเจริญกับความเสื่อม ซึ่งมีทฤษฎีรองรับ เช่น ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict theory) ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) และทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นในวัฒนธรรมของประชาชาติหนึ่งๆ แต่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม เกิดขึ้นกับการเคลื่อนย้ายจากถิ่นหนึ่งไปยังแหล่งอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว การค้าขาย การเผยแพร่ศาสนา และการไปศึกษาหาความรู้ ฯลฯ เป็นต้น จะมีการทำนุวัฒนธรรมติดตัวไปด้วย พร้อมรับวัฒนธรรมจากสังคมที่ไปติดต่อกลับมา จัดว่าเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม เช่น อาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ เป็นต้น
สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือภาษาและวัฒนธรรมเล่มนี้สามารถสรุปสาระสำคัญๆ เชิงวิชาการได้หลายหัวเรื่อง อาทิเช่น
       หัวเรื่องที่ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม ได้แก่
          1.1 ภาษาเป็นเครื่องแสดงความเป็นชาติและวัฒนธรรมของชาติแสดงถึงความผูกพันของชนชาติเดียวกัน
1.2 ภาษาเป็นเครื่องมือแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในฐานะของผู้ส่ง ผู้รับภาษาและฐานะความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ
1.3 ภาษาเป็นตัวแทนของพฤติกรรมและกิจกรรมที่ถ่ายทอดความเป็นสังคมของมนุษย์
1.4 ภาษาเป็นเครื่องมือทางการเมืองและกิจกรรมที่ถ่ายทอดความเป็นสังคมของมนุษย์
1.5 ภาษาเป็นเครื่องช่วยบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบัน
1.6 ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์สังคม

       หัวเรื่องที่ 2. การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ คือ 
          2.1 ทางสัญลักษณ์ (Symbols) ทั้งทางธรรมชาติและจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง เช่น สัญญาณไฟ เป็นต้น
2.2 ทางด้านของระบบ (System) ภาษาทุกภาษามีระบบ เช่น ระบบหน่วยคำ ระบบไวยากรณ์ ฯลฯ เป็นต้น
2.3 ทางด้านอำนาจทางสังคมสะท้อนออกมาจากภาษา (The Reflection of Power in a society) เช่น อำแดง ฯลฯ เป็นต้น

       หัวเรื่องที่ 3. ลักษณะของวัฒนธรรม มีลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น
          3.1 การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
3.2 การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3.3 อักษรไทยและภาษาไทย
3.4 ประเพณีไทย
3.5 วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย จรรยามารยาทของคนไทยและจิตใจ

       หัวเรื่องที่ 4. การสืบทอดวัฒนธรรมไทยให้ดำรงไว้เป็นมรดกไทยสืบไป ต้องพิจารณาถึงพัฒนาการของวัฒนธรรมของสังคมทั่วไปและสามารถถ่ายทอดได้จากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่ง พัฒนาการของวัฒนธรรมมี 3 ประการ คือ
          4.1 การสะสมวัฒนธรรม จากสิ่งแวดล้อมโดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือบอกเล่าและบันทึกวัฒนธรรม
4.2 การปรับปรุงวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินชีวิตตามยุคสมัย โดยการเลือกสรรค์
4.3 การสืบทอดวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่องโดยการใช้ภาษา

หัวเรื่องที่ 5. กระบวนการสร้างทักษะสัมพันธ์ทางภาษาเป็นกระบวนการที่เป็นขั้นตอน หรือกลวิธีสร้างกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา ดังนี้
          5.1 การแปลความ เกี่ยวข้องกับทักษะการอ่าน การฟัง จัดว่ามีส่วนเสริมสร้างทักษะการรับสารเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
5.2 การถอดความ จะใช้กับบทประพันธ์ที่เป็นร้อยกรอง เรียกการถอดคำประพันธ์
5.3 การย่อความ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องต่างๆ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่จากสำนวนภาษาหรือข้อความ
5.4 การจับใจความสำคัญ เป็นการอ่านเข้าถึงสาระสำคัญของข้อเขียนในแง่ต่างๆ เช่น เนื้อเรื่องสำคัญ เพราะใจความสำคัญ คือ ความคิดของผู้เขียนที่แสดงไว้
5.5 การสรุปความ เป็นการอ่านต่อเนื่องจากการอ่านจับใจความสำคัญ
5.6 การขยายความ อ่านเพื่อขยายความคิดของผู้อ่านให้ลึกซึ้ง กว้างไกล จากเหตุผลประกอบ

หัวข้อเรื่องที่ 6. ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประกอบด้วย
          6.1 สิ่งแวดล้อมทางสรีระธรรมชาติ (Physiological Environment) เช่น แถบทะเลทรายของทวีปแอฟริกา เคยเป็นพื้นที่เขียวชอุ่มเพาะปลูกดี ต่อมาดินถูกทำลายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ทำความเสียหายให้แก่มนุษย์
6.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร (Population Change) เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว เพราะจากที่หนึ่งอพยพไปอีกที่หนึ่ง
6.3 การอยู่โดดเดี่ยวและการคิดต่อเกี่ยวข้อง (Isotact and Contact) สังคมใดการคมนาคมเจริญ ทันสมัยจะกลายเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลง เช่น การค้นพบเส้นทางการเดินเรือ ฯลฯ เป็นต้น
6.4 โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม (Structure of Society and Culture) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น สังคมเกิดการแข่งขันกัน มีค่านิยมต่างกัน
6.5 ทัศนคติทางค่านิยม (Attitudes and Value) ช่วยให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย
6.6 ความต้องการที่รับรู้ (Perceived Peers) ความต้องการรับรู้หรือมองเห็นได้ของสมาชิกในสังคม เช่น การคิดค้น การประดิษฐ์ใหม่ ฯลฯ เป็นต้น
6.7 พื้นฐานทางวัฒนธรรม (Culture Base) เมื่อมีสิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ค่านิยมของคนแตกต่างกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

MCI405 การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรเเละการสอน

MCI 203 การจัดการนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ