MCI 203 การจัดการนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารโรงเรียน ในฐานะที่ทำหน้าที่บริหาร ที่ต้องมีความรู้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันบุคลากรและทันนักเรียน เพื่อจะได้แนะนำบุคลากรให้มีทักษะในด้านต่างๆ การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง สามารถยกตัวอย่างได้ ICT จึงมีความสำคัญมาก เมื่อให้บุคลากรได้ค้นคว้าหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆใน Internet ได้แล้ว ต้องให้บุคลากรมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลนั้นๆ แสดงความคิดเห็นผ่าน E-mail หรือBlog เราจะได้รับรู้ถึงความรู้สึก นึกคิด ของบุคลากร ในฐานะหัวหน้ากลุ่มบริหารงานได้จัดทำระบบข้อมูลทะเบียน หนังสือเข้า หนังสือออก โดยบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสารและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ค้นหาง่าย และเป็นระบบ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่โรงเรียนควรนำมาใช้
1) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Learning ) หรือ E-Learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
2) ห้องเรียนอัจฉริยะ ( Electronic Classroom ) หรือ E-Classroom เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ On-Line 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E- Book ) และห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์ ( E- Library ) เพื่อเสริมการเรียนการสอน ให้แก่นักเรียน ครู และสำหรับสถานศึกษาที่สอนในระดับประถมปลาย เนื่องจากเด็กวัยนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นและอยากพิสูจน์ความสามารถของตนเอง 4) การสอนบนเว็บ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกวิชาโดยอาจจะใช้สอนทั้งรายวิชาหรือเพื่อประกอบเนื้อหาวิชาการสอน แบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ คือ1) ใช้เว็บทั้งวิชา 2) ใช้เว็บเสริม3) การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ บนเว็บเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา4) ห้องเรียนเสมือน5) การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
แนวทางการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาในโรงเรียน
ขั้นตอนการนำมาใช้ในโรงเรียน ประกอบด้วยขั้นตอน 6 ขั้นดังนี้
1. จัดทำแผนการนำเทคโนโลยี มาใช้ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน การเตรียมงบประมาณรองรับให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย และคนที่จะดูแลระบบ และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและทำความเข้าใจด้วย
2. การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำมาเข้าใช้ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยการพิจารณา วิเคราะห์และคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และจัดหาผู้พัฒนาระบบและผู้ให้บริการที่จะปรับปรุงพัฒนาระบบที่จะนำมาบริหารจัดการ
1. จัดทำแผนการนำเทคโนโลยี มาใช้ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน การเตรียมงบประมาณรองรับให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย และคนที่จะดูแลระบบ และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและทำความเข้าใจด้วย
2. การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำมาเข้าใช้ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยการพิจารณา วิเคราะห์และคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และจัดหาผู้พัฒนาระบบและผู้ให้บริการที่จะปรับปรุงพัฒนาระบบที่จะนำมาบริหารจัดการ
3. การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการมาก เช่น การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ หรือบุคลากรขาดความรู้ เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จึงจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาร่วมกันกับบุคลากรของโรงเรียน
4. การพัฒนาบุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยี เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้งานประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ และใช้งานอย่างครบถ้วน
5. การบำรุงรักษา ให้เหมาะสมกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
6. การติดตาม ประเมินผล ควรประเมิน 2 ส่วนคือ ส่วนแรกต้องประเมินผลงานที่กำหนดไว้ในแผน และประเมินความพึงพอใจในการบริการ
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในโรงเรียน
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน และการค้นคว้า จนทำให้ครูและนักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนทั้งนี้โรงเรียนได้พัฒนา ระบบต่าง ๆ ดังนี้
1. ติดตั้งระบบ Fiber optic เครือข่ายภายในโรงเรียน (LAN) และ Internet ความเร็วสูงทั้งระบบ
2. พัฒนาระบบแจ้งผลการเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบทางอินเตอร์เน็ต โดยอำนวยความสะดวก ให้ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนจากที่บ้านได้ และอบรมให้ครูส่งผลการเรียนทางอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่งานทะเบียน และลดภาระของครูผู้สอนในการบันทึก ปพ. ในระบบเก่า
3. การให้บริการอินเตอร์เน็ตให้แก่นักเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้าข้อมูลในการทำรายงานหรือการเรียนการสอน
4. พัฒนาระบบ E-learning เพื่อให้มีการเรียนการสอนด้วยระบบ E-learning ที่สมบูรณ์ ครู และนักเรียนมีความเข้าใจในกใช้งานระบบนี้ และใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนการสอน มีระบบกลั่นกรองเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์
5. พัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียน ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายของบุคคลทั่วไป และเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลสำหรับครูผู้สอนและนักเรียน รวมทั้งเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ของโรงเรียน และงานกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนให้หน่วยงานภายนอกได้รับรู้
6. นำระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มาให้บริการในห้องสมุดออนไลน์ และสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้และจากห้องสมุดทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสื่อผสมในรูปคลิปวีดีโอ ภาพ การ์ตูน animation
7. ในด้านการบริหารมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง โดยให้ทุกฝ่าย/งานใช้การอ้างอิงจาก
4. พัฒนาระบบ E-learning เพื่อให้มีการเรียนการสอนด้วยระบบ E-learning ที่สมบูรณ์ ครู และนักเรียนมีความเข้าใจในกใช้งานระบบนี้ และใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนการสอน มีระบบกลั่นกรองเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์
5. พัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียน ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายของบุคคลทั่วไป และเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลสำหรับครูผู้สอนและนักเรียน รวมทั้งเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ของโรงเรียน และงานกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนให้หน่วยงานภายนอกได้รับรู้
6. นำระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มาให้บริการในห้องสมุดออนไลน์ และสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้และจากห้องสมุดทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสื่อผสมในรูปคลิปวีดีโอ ภาพ การ์ตูน animation
7. ในด้านการบริหารมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง โดยให้ทุกฝ่าย/งานใช้การอ้างอิงจาก
ฐานข้อมูลเดียวกันทั้งโรงเรียน โดยนำโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล มาใช้ในการบริหารระบบงานของโรงเรียน โดยขั้นแรกจะมีการอบรมให้ครูแกนนำ เพื่อถ่ายทอดต่อกับเพื่อนครูและอบรมให้ฝ่าย/งานที่เกี่ยวข้องที่ใช้โปรแกรมฐานข้อมูลร่วมกัน คือ
7.1 ฝ่ายบริหารงานวิชาการ เช่น การจัดทำตารางสอน งานทะเบียนนักเรียน งานห้องสมุด ฯลฯ
7.2 ฝ่ายบริหารงานบุคคล เช่น งานบันทึกพฤติกรรมนักเรียน การลา มาสาย การทำความผิดของครู ฯลฯ
7.3 ฝ่ายบริหารทั่วไป เช่น ระบบงานสารบรรณ การรับ-ส่งหนังสือ E-office งานอาคารสถานที่ ฯลฯ
7.4 ฝ่ายบริหารงบประมาณ เช่น งานการเงิน งานพัสดุ ฯลฯ
7.1 ฝ่ายบริหารงานวิชาการ เช่น การจัดทำตารางสอน งานทะเบียนนักเรียน งานห้องสมุด ฯลฯ
7.2 ฝ่ายบริหารงานบุคคล เช่น งานบันทึกพฤติกรรมนักเรียน การลา มาสาย การทำความผิดของครู ฯลฯ
7.3 ฝ่ายบริหารทั่วไป เช่น ระบบงานสารบรรณ การรับ-ส่งหนังสือ E-office งานอาคารสถานที่ ฯลฯ
7.4 ฝ่ายบริหารงบประมาณ เช่น งานการเงิน งานพัสดุ ฯลฯ
ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
จากการที่โรงเรียนได้บริหารงานแบบมีส่วนร่วม ฝ่ายบริหารกับครูมีความสัมพันธ์กัน มีการนิเทศ ติดตามและประเมิน
แบบกัลยาณมิตร ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกันแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยสูงทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียนประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
แบบกัลยาณมิตร ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกันแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยสูงทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียนประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น