บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2018

ฝึกวิชาชีพ 1

รูปภาพ

MCI 203 การจัดการนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารโรงเรียน ในฐานะที่ทำหน้าที่บริหาร ที่ต้องมีความรู้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันบุคลากรและทันนักเรียน เพื่อจะได้แนะนำบุคลากรให้มีทักษะในด้านต่างๆ การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง สามารถยกตัวอย่างได้  ICT  จึงมีความสำคัญมาก เมื่อให้บุคลากรได้ค้นคว้าหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆใน  Internet  ได้แล้ว ต้องให้บุคลากรมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลนั้นๆ แสดงความคิดเห็นผ่าน  E-mail  หรือ Blog  เรา จะได้รับรู้ถึงความรู้สึก นึกคิด ของบุคลากร    ในฐานะหัวหน้ากลุ่มบริหารงานได้จัดทำระบบข้อมูลทะเบียน หนังสือเข้า หนังสือออก โดยบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสารและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ค้นหาง่าย และเป็นระบบ      นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่โรงเรียนควรนำมาใช้ 1) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Learning ) หรือ E-Learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได...

MCI 303 การบริหารหลักสูตรเเละการสอน

หลักการบริหารหลักสูตร: แนวคิด     การทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนและถูกต้องถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ   โดยมีหลักและแนวคิดที่สำคัญ 9 ประการ ดังนี้     1. การวางแผนงานหลักสูตร   ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ทุกโรงเรียนจะมีทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรเก่า   หลักสำคัญในการบริหารหลักสูตรคือจะต้องทำให้ผู้เรียนสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุด เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนหลักสูตรให้น้อยและสั้นที่สุด   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี ต้องจัดระบบให้ดี มีข้อมูลที่ชัดเจน และตระเตรียมทุกอย่างให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง     2. การจัดระบบข้อมูลโรงเรียน   นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารหลักสูตร ระบบข้อมูลโรงเรียนประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้     * หลักสูตร - ระบบการสร้างหลักสูตร การบริหารหลักสูตร และการประเมินผล     * การบริหารจัดการ - มีข้อมูลด้านผู้เรียน ...

MCI 102 จิตวิทยาทางการศึกษา

ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา 1.  ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก  2  กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้ 1.1 กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism) ทฤษฏีการเสริมแรง ของพาฟลอบ การปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวสิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้น ได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น  chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner  ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ( Conditioning Theory)  ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง( Connectionism Theory)  ทฤษฎีการเสริมแรง ( Stimulus-Response Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ( Conditioning Theory)  เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ พาฟลอบ ( Pavlov)  กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว   สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทําให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม  ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ( Connectionism Theory)  เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ...

MCI 414 การฝึกปฎิบัติการสอนในชั้นเรียน

MEA 303 ภาษาเเละวัฒนธรรมสำหรับครู

ภ าษา คือ วิธีที่มนุษย์แสดงความในใจสื่อความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ ภาษาจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษาถ้อยคำ คือ ความหมายที่แสดงออกได้โดยวิธีตัวอักษรเป็นสัญญาลักษณ์ในการสื่อความหมายทางการพูดและการเขียนและภาษาท่าทางที่แสดงออกได้ โดยการแสดงอากัปกิริยา ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง เช่น การใช้นิ้วมือในภาษาใบ้และการรำละคร เป็นต้น ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของชาติ เพราะภาษาเป็นสื่อให้ติดต่อกันและทำให้วัฒนธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวคนทั้งชาติ วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นับแต่เกิดจนตาย การใช้ภาษาอย่างมีวัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการบันทึกเป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้ดังนี้ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ระดังกึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง มนุษย์ต้องใช้ภาษาจึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาทิเช่น ภาษาช่วยถ่ายทอดว...

MCI 412 การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา  (Quality Assurance) หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการวางแผน และกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่า จะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร และตรงตามความมุ่งหวังของสังคม เนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา จัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญคือ ทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองจะส่...